Carl Ritter von Fernwald Braun (1822-1891)
เกิดวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1822 ที่เมือง Zistersdorf, Niederösterreich ประเทศออสเตรีย
เขาเรียนแพทย์ที่กรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1841 และได้รับตำแหน่ง Sekundararzt ที่โรงพยาบาลทั่วไปเวียนนาในปี ค.ศ. 1847
ค.ศ. 1849 - 1853 เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยของศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์ Johann Klein (1788–1856) ต่อจาก Ignaz Philipp Semmelweis (1818-1865) สูติแพทย์ชาวฮังการีซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ในปี ค.ศ. 1847 – 1849
ค.ศ. 1853 เขาได้เป็น Privatdozent และดำรงตำแหน่ง ordinary professor ด้านสูติศาสตร์ใน Trient ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังเป็นรองผู้อำนวยการของ Tiroler Landes-Gebär- und Findelanstalt
พฤศจิกายน ค.ศ. 1856 เขาถูกเรียกให้กลับมารับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่เวียนนาต่อจาก Johann Klein
เขาค้นพบอาการแสดงของการตั้งครรภ์ที่เรียกว่า Von Fernwald’s sign เป็นการโตและนุ่มอย่างไม่สมมาตรของยอดมดลูกตรงตำแหน่งการฝังตัวของไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว พบได้ในอายุครรภ์ 4 – 5 สัปดาห์
เขาเสียชีวิตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1891 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
Louis Julius Ladin (1862-?)
เกิดในปี ค.ศ. 1862
เป็นนรีแพทย์ชาวอเมริกันเจ้าของ Ladin’s sign ซึ่งเป็นการนุ่มในแนวกลางด้านหน้าของมดลูกพบหลังจากอายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์
ไม่ทราบปีที่เสียชีวิต
Ludwig Piskaçek (1854-1932)
เกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 ที่เมือง Karesag ประเทศฮังการี
เขาเรียนที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียและได้ doctorate ในปี ค.ศ. 1882
เขาฝึกงานด้านศัลยกรรมที่ Albert Clinic จนถึงปี ค.ศ. 1884 จากนั้นก็เป็นผู้ช่วยในคลินิกสูติกรรมภายใต้ Josef Späth (1823-1896) และ August Breisky (1832-1889) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1888
เขาเป็น habilitated ในปี ค.ศ. 1889
เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์ที่โรงเรียนผดุงครรภ์ในเมือง Linz ประเทศออสเตรียในปี ค.ศ. 1890 และที่กรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1901
เขาเป็นเจ้าของ Piskaçek's sign ซึ่งเป็นการโตของมดลูกที่ไม่สมมาตรที่เกิดจากการฝังตัวบริเวณ cornu ของมดลูก ทำให้คลำได้รอยนูนบริเวณรอยต่อของท่อนำไข่กับมดลูก พบในอายุครรภ์ 7 – 8 สัปดาห์
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1932 ในกรุงเวียนนา
William Goodell (1829-1894)
เกิดวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1829 ที่ประเทศมอลตา
เขาเป็นบุตรชายของ William Goodell (1792–1867) มิชชันนารีชาวอเมริกัน
เขาเรียนที่วิทยาลัย William รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐฯและจบในปี ค.ศ. 1851 จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทย์ Jefferson รัฐฟิลาเดลเฟีย โดยจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1854
เขาทำงานที่ Constantinople จนกระทั่ง ค.ศ. 1861 จากนั้นก็ทำเวชปฏิบัติทั่วไปในWest Chester รัฐเพนซิลเวเนียจนกระทั่งเขาได้รับตำแหน่งผู้บรรยายด้านโรคทางสูติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเพนซิลเวเนียในปี ค.ศ. 1870
ค.ศ. 1874 เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิกด้านโรคของผู้หญิงและเด็ก
เขาเป็นที่รู้จักจากการค้นพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ปากมดลูกจะนุ่มลง อาการแสดงนี้เรียกว่า Goodell's sign พบในอายุครรภ์ 4 – 6 สัปดาห์
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1894
James Read Chadwick (1844-1905)
เกิดวันที่ 2 พฤศจิกยน ค.ศ. 1844 ที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ
เขาจบแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1871
ค.ศ. 1871 – 1873 เขาเรียนต่อด้านสูติศาสตร์ในยุโรป
ค.ศ. 1874 เขาทำงานที่โรงพยาบาลเมืองบอสตันและสอนที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด
ค.ศ. 1886 เขาบรรยายการเปลี่ยนสีของปากมดลูกและช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์เป็นสีม่วง แม้เขาเองจะให้เครดิตว่าแพทย์ชาวฝรั่งเศส Étienne Joseph Jacquemin (1796-1872) ค้นพบเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1836 แต่คนก็เรียกอาการแสดงนี้ว่า Chadwick's sign พบได้ในอายุครรภ์ 6 สัปดาห์
Ernst Ludwig Alfred Hegar (1830-1914)
เกิดวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1830 ที่เมือง Darmstadt ประเทศเยอรมนี
เขาเป็นบุตรชายของ Johann August Hegar (1794-1882) ซึ่งเป็นแพทย์ชนบท
เขาเรียนแพทย์ใน Giessen, ไฮเดลเบิร์ก, กรุงเบอร์ลิน และกรุงเวียนนา หลังจบการศึกษาเขาก็ไปเป็นแพทย์ทหารในกองทัพบก
ต่อมาเขาทำเวชปฏิบัติส่วนตัวด้านสูติกรรมที่เมือง Darmstadt
ค.ศ. 1864 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสูตินรีเวชที่มหาวิทยาลัยแห่ง Freiburg ต่อจากสูตินรีแพทย์ชาวเยอรมัน Otto Spiegelberg (1830-1881)
เขาค้นพบการนุ่มของ cervical isthmus (cervicouterine junction) ในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 6 - 8 สัปดาห์ อาการแสดงนี้เรียกว่า Hegar's sign (ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวของมดลูกมีความยืดหยุ่นจนโค้งงอได้เรียกว่า McDonald’s sign)
นอกจากนี้เขายังฝากผลงานไว้ให้กับวงการแพทย์หลายอย่างได้แก่ Hegar's dilator และ Hegar's operation เป็นต้น
เขาเกษียณในปี ค.ศ. 1904 และเสียชีวิตในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่เมือง Breisgau ประเทศเยอรมนี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น