เชื้อมาลาเรียที่ติดต่อในคนโดยทั่วไปจะเข้าใจว่ามีอยู่เพียงสี่สปีชีส์ เรียงตามลำดับการค้นพบคือ
1.
Plasmodium vivax ค้นพบโดยแพทย์ชาวอิตาลีสองคนคือ
Giovanni Battista Grassi (1854–1925) และ
Raimondo Feletti (1851-1928) ในปี ค.ศ. 1890
2.
Plasmodium malariae ค้นพบโดย Grassi
และ Feletti ในปี ค.ศ. 1892
4. Plasmodium ovale ค้นพบโดยแพทย์ชาวเวลส์
John William Watson Stephens (1865–1946) ในปี ค.ศ. 1922
(ล่าสุด ค.ศ. 2010 แบ่งเป็นสองสปีชีส์ย่อยคือ Plasmodium
ovale curtisi และ Plasmodium
ovale wallikeri)
แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกสปีชีส์หนึ่งที่ติดต่อในคนนั่นคือ
Plasmodium knowlesi มีความเป็นมาดังนี้
ค.ศ. 1927 Giuseppe Franchini (1879-1938) นักมาลาเรียวิทยาชาวอิตาลีพบเชื้อมาลาเรียสปีชีส์ใหม่ที่ติดต่อในลิงกังพันธุ์
Macaca fascicularis ต่อมา ค.ศ. 1932 Knowles ร่วมกับผู้ช่วยคือ
Biraj Mohan Das Gupta บรรยายลักษณะของเชื้อดังกล่าวและแสดงให้เห็นว่าสามารถติดต่อสู่คนได้ นับเป็นสปีชีส์ที่ห้าที่ติดต่อในคน
ที่สิงคโปร์ปีเดียวกันนั้นเองแพทย์ชาวไอร์แลนด์ John Alexander
Sinton (1884–1956) และ H. W. Mulligan
สังเกตเห็น stippling
เฉพาะตัวของเม็ดเลือดแดงที่ได้จากลิงกังพันธุ์ Macaca fascicularis และพบว่าเป็นเชื้อเดียวที่มีลักษณะ
24 hour asexual cycle พวกเขารู้ว่ามันเป็นสปีชีส์ใหม่จึงตั้งชื่อว่า
Plasmodium knowlesi เพื่อเป็นเกียรติแก่ Knowles สำหรับ stippling เฉพาะตัวดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ Sinton-Mulligan stippling
อย่างไรก็ตามการติดเชื้อโดยธรรมชาติไม่เคยมีรายงานจนกระทั่ง
ค.ศ. 1965
พบผู้ป่วยเป็นรายแรกที่รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย
สำหรับประเทศไทยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รายงานการติดเชื้อนี้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม
ค.ศ. 2000
โดยผู้ป่วยเป็นชายวัย 38 ปีที่ป่วยหลังกลับจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Robert Knowles
(1883-1936)
เกิดวันที่ 30 ตุลาคม
ค.ศ. 1883 ที่ประเทศอินเดีย
บิดาของเขาเป็นมิชชันนารี
เขาเรียนชั้นต้นที่โรงเรียน Mill Hill ก่อนจะเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัย
Downing ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1901
และเริ่มเรียนแพทย์ที่นี่
จากนั้นเขาก็ไปที่ St. Mary’s Hospital กรุงลอนดอนและเริ่มทำงานที่นี่ภายใต้ Sir Almroth Edward Wright (1861–1947) นักแบคทีเรียวิทยาชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง ทำให้เขาได้สัมผัสงานวิจัยทางการแพทย์เป็นครั้งแรกและมีอิทธิพลต่อเขาทั้งชีวิตที่เหลือ
ค.ศ. 1907 เขาได้รับ diploma,
M.R.C.S. และ L.R.C.P.
ค.ศ. 1908 เขาสอบผ่าน Indian
Medical Service (I.M.S.) entrance examination
และไปทำงานกับกองทัพเป็นเวลาสี่ปี หลังจากนั้นเขาก็เดินตามความฝันโดยไปเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันปาสเตอร์ที่เมือง
Kasauli ประเทศอินเดีย
งานของเขาที่ Kasauli สะดุดเพราะเกิดสงคราม
เขาถูกส่งไปยังเมโสโปเตเมียกับ 11th Mahratta Light
Infantry เขาได้รับบาดเจ็บที่ขาอย่างรุนแรงจากสมรภูมิ Ctesiphon
จนต้องนอนโรงพยาบาลในอินเดียเป็นเวลานานและต่อมาย้ายไปรักษาที่กรุงลอนดอน
เขาถูกส่งไปประจำการที่โรงพยาบาลสงคราม
Cumballa
ที่เมืองบอมเบย์ (ปัจจุบันคือมุมไบ) ในตำแหน่งนักแบคทีเรียวิทยา
แต่บาดแผลที่ขาทำให้เขาไม่สามารถออกทำงานในพื้นที่ได้จึงถูกส่งกลับไปเป็นพลเรือน
เขาไปตั้งสถาบันปาสเตอร์ที่เมือง Shillong ที่นี่ทำให้เขาได้รู้จักกับแพทย์ชาวอังกฤษอีกคนคือ
Sir Leonard Rogers (1868 – 1962)
ค.ศ. 1920 Rogers เดินทางกลับอังกฤษและเลือกให้
Knowles ครองตำแหน่งของเขาที่วิทยาลัยแพทย์ต่อ เนื่องจากเขาต้องไปก่อตั้งโรงเรียนเวชศาสตร์เขตร้อน
(School of Tropical Medicine)
หนึ่งปีต่อมาเมื่อโรงเรียนเวชศาสตร์เขตร้อนเปิด
Knowles
ก็ไปรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านโปรโตซัววิทยา (ครองตำแหน่งนี้จนกระทั่งเสียชีวิต)
ค.ศ. 1928
เขาตีพิมพ์ตำราชื่อ Knowles's Introduction to Medical Protozoology เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1932 Knowles ร่วมกับผู้ช่วยคือ
Biraj Mohan Das Gupta ค้นพบเชื้อ Plasmodium
knowlesi และแสดงให้เห็นว่าสามารถติดต่อสู่คนได้ นับเป็นสปีชีส์ที่ห้าที่ติดต่อในคน
Knowles เสียชีวิตในวันที่
3 สิงหาคม ค.ศ. 1936
John Alexander
Sinton (1884-1956)
เกิดวันที่ 2
ธันวาคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองวิคตอเรีย
รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
เขาเป็นบุตรคนที่สามในบรรดาเจ็ดคนของ Walter Lyon Sinton
(1860–1930) กับ Isabella Mary, née Pringle (1860–1924) ครอบครัวเขาเป็นผู้ผลิตผ้าลินินที่ย้ายมาจากเมือง
Ulster
ทางตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์
ค.ศ. 1890 ครอบครัวเขาย้ายกลับไปอยู่ที่
Ulster
เขาเรียนที่ Royal Belfast
Academical Institution และเรียนแพทย์ที่ Queen's University
เบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือโดยจบในปี ค.ศ. 1908 ด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของรุ่น จากนั้นก็ไปศึกษาเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี
ค.ศ. 1910 และที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 1911
เขาสอบผ่าน I.M.S. entrance
examination ในปี ค.ศ. 1911 ด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งจึงได้ทุนจากโรงเรียนเวชศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล
(Liverpool School of Tropical Medicine) ไปวิจัยที่อินเดีย ทำให้ได้รู้จักกับ Sir Ronald Ross
(1857–1932) แพทย์ชาวอังกฤษผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี
ค.ศ. 1902 จากงานวิจัยเรื่องมาลาเรีย เป็นอิทธิพลให้ Sinton กลายเป็นนักมาลาเรียวิทยาในเวลาต่อมา
ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาปฏิบัติงานใน
I.M.S. ของกองทัพอินเดียด้วยยศร้อยเอก
วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1916
เขาถูกยิงที่ Orah Ruins เมโสโปเตเมีย
กรกฎาคม ค.ศ. 1921 เขาทำงานที่สำนักงานมาลาเรียกลาง
(Central Malaria Bureau)
ที่ Kasauli เขาได้รู้จักกับ
Eadith Seymour Steuart-Martin (1894–1977) บุตรสาวของ
Edwin Steuart-Martin กับ Ada May Martin (née Martin) ทั้งสองแต่งงานกันในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1923 โดยมีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคนคือ Eleanor Isabel Mary Sinton (เกิด 9 ธ.ค. 1924)
ค.ศ. 1925 เขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยสำรวจมาลาเรียของอินเดีย เขาทำงานที่อินเดียจนกระทั่งถึงปี
ค.ศ. 1936
ต่อมาเขาทำงานที่โรงเรียนสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน
(London
School of Hygiene and Tropical Medicine) และที่ห้องปฏิบัติการมาลาเรียของกระทรวงสุขภาพที่โรงพยาบาล
Horton ใกล้เมือง Epsom ประเทศอังกฤษ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขาถูกเรียกกลับไปปฏิบัติงานที่อินเดียอีกครั้ง เขาเกษียณและได้รับยศพลตรีจัตวาในเดือนธันวาคม
ค.ศ. 1943
จากนั้นก็กลับไอร์แลนด์เหนือ
ค.ศ. 1946 เขาได้รับเลือกเป็น
Fellow of the Royal Society (FRS)
ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งชื่อสปีชีส์ของแมลงหลายชนิดด้วยกันได้แก่
Aedes
sintoni, Anopheles sintoni, Anopheles sintonoides และ Sergentomyia
sintoni รวมถึงชื่อ subgenus
Sintonius ของ genus Phlebotomus อีกด้วย
Sinton เสียชีวิตที่บ้านของเขาใน
Slaghtfreedan Lodge, Cookstown, County Tyrone
ไอร์แลนด์เหนือเมื่อวันที่ 25
มีนาคม ค.ศ. 1956
28 มีนาคม ค.ศ. 1956 ศพของเขาถูกฝังอย่างสมเกียรติที่สุสานเพรสไบทีเรียน Claggan ใน Cookstown นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น