วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

MMM(129) Father of cryosurgery

การใช้ความเย็นในการรักษาความเจ็บปวดและการอักเสบมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์แล้ว

ค.ศ. 1819-1879 James Arnott (1797-1883) แพทย์ชาวอังกฤษบรรยายการใช้ความเย็น (เกลือผสมกับน้ำแข็ง) เพื่อทำลายเนื้อเยื่อเฉพาะที่เป็นคนแรก เขาใช้กับมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งผิวหนัง เพื่อบรรเทาอาการปวดและห้ามเลือด รวมถึงการใช้รักษาสิว อาการปวดศีรษะ และ neuralgia นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเพื่อให้ผิวหนังชา (Refrigeration analgesia)

ค.ศ. 1866 Benjamin Richardson แนะนำให้ใช้สเปรย์อีเธอร์แทนวิธีของ Arnott

ค.ศ. 1883 S. Openchowski ทดลองใช้ความเย็นกับสมองส่วน cerebral cortex ของสุนัขและใช้น้ำเย็นล้างช่องคลอดในผู้ป่วยปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง

ค.ศ. 1891 Redard แนะนำให้ใช้ ethyl chloride แทนสเปรย์อีเธอร์

ค.ศ. 1892 James Dewar นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษประดิษฐ์ flask สุญญากาศเพื่อเก็บแก๊สเหลว

ค.ศ. 1895 Von Linde ผลิตอากาศเหลว (liquid air) ออกจำหน่าย

ค.ศ. 1899 Campbell White ที่นิวยอร์กรายงานการใช้อากาศเหลวในการรักษาโรคต่าง ๆ เป็นคนแรก

ค.ศ. 1907 William A. Pusey แนะนำการใช้คาร์บอนไดออกไซด์เย็น (carbon dioxide snow) เพื่อรักษาโรคทางผิวหนังแทนการใช้เกลือผสมกับน้ำแข็งและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา

ค.ศ. 1911 Hall-Edwards คิดค้นตัวเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Hall-Edwards carbon dioxide collector)

ค.ศ. 1950 H. Allington เป็นคนแรกที่เริ่มใช้ไนโตรเจนเหลวในการรักษาโรคทางผิวหนัง

ค.ศ. 1951 J. B. Arnott บรรยายการใช้ความเย็นในการรักษามะเร็ง

ค.ศ. 1955 J. W. Wilson นำ Freons มาใช้ทำให้ผิวหนังกระชับก่อนทำ dermabrasion

ค.ศ. 1960 Irving S. Cooper คิดค้น probe ไนโตรเจนเหลวและนำมาใช้กับสมองมนุษย์ในการทำ cryogenic thalamotomy เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 เป็นการจุดประกายการผ่าตัดโดยใช้ความเย็น (cryosurgery) หลังจากนั้นความเย็นก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

ค.ศ. 1965 D. Torre พัฒนาสเปรย์ไนโตรเจนเหลว สองปีต่อมา S. Zacarian ก็พัฒนาสเปรย์ไนโตรเจนเหลวแบบใช้มือถือได้เรียกว่า Kryospray

ค.ศ. 1975 Torre อาศัยหลัก Joule-Thomson effect พัฒนา argon gas system ขึ้นมา

ค.ศ. 1985 Zacarian คิดค้น probe ทองแดงใช้รักษารอยโรคที่อยู่ลึก

ค.ศ. 2001 Nikolai N. Korpan (เกิด 24 ธ.ค. 1956) ศัลยแพทย์ชาวยูเครนตีพิมพ์หนังสือ “Basics of Cryosurgery” ซึ่งเป็นหนังสือที่สำคัญเล่มหนึ่งในด้านนี้


Irving S. Cooper (born 1922)


เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1922 ที่แอตแลนตาซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐฯ

เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัย George Washington และจบในปี ค.ศ. 1945 จากนั้นก็เป็น internship ที่โรงพยาบาลนาวาสหรัฐฯ เป็นเวลาหนึ่งปี

ค.ศ. 1948-1951 เขาเทรนด้านประสาทศัลยศาสตร์ที่ Mayo Clinic โรเชสเตอร์ รัฐมินนิโซตา

ค.ศ. 1952 เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กโดยเริ่มทำงานทางคลินิกที่โรงพยาบาล Belleview ในนิวยอร์กซิตี้y

ค.ศ. 1952 Arthur Earl Walker (1907-1995) ศัลยแพทย์ระบบประสาทชาวแคนาดาที่จอห์นฮอปกินส์รายงานการทำ pedunculotomy ในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ปีนั้นเองขณะ Cooper กำลังทำหัตถการเดียวกับ Walker บังเอิญไปตัดหลอดเลือดแดง anterior choroidal (AChA) พบว่าหลังผ่าตัดผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นมาก เขาจึงริเริ่มทำการผ่าตัดผูก AChA เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ค.ศ. 1954 เขาไปก่อตั้งภาควิชาประสาทศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาล St. Barnabas ใน Bronx เขาอยู่ที่นี่จนถึงปี ค.ศ. 1977 และพัฒนาเทคนิคการรักษาความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวมากมาย

ค.ศ. 1955 เขาทำการฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปทำลาย medial globus pallidus (chemopallidotomy) เพื่อรักษาอาการสั่นของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ต่อมาเมื่อพบว่าสัญญาณหลักจาก medial globus pallidus ถูกส่งไปยัง ventrolateral thalamus เขาจึงมุ่งไปที่การทำ thalamotomy

ค.ศ. 1960 เขาคิดค้น probe ไนโตรเจนเหลวและนำมาใช้กับสมองมนุษย์ในการทำ cryogenic thalamotomy เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 จากนั้นมันก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดด้านอื่น ๆ อีกมากมาย

ค.ศ. 1973 เขาเริ่มทำการผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสมองส่วน Cerebellum

ค.ศ. 1977 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์วิจัยด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทย์นิวยอร์กใน Valhalla นิวยอร์ก และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของหน่วยสรีรประสาทศัลยศาสตร์ของศูนย์แพทย์ Westchester County

ค.ศ. 1979 เขาเริ่มการผ่าตัดทำ Deep brain stimulation (DBS)

เขายังคงทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1985 และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง cryosurgery


สำหรับ Cooper's fascia นั้นเป็นของอีกคนนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: