วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

MMM(170) Father of craniofacial surgery in Thailand

ศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ (Charan Mahatumarat)


เกิดวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่จังหวัดอยุธยา

จบการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท

จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1973

ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จนได้รับวุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป

หลังเรียนจบทางด้านศัลยกรรมทั่วไปได้มาเรียนต่อทางด้านศัลยกรรมตกแต่งจนได้ร ับอนุมัติบัตรสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง เป็นอาจารย์ในหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1983

ขณะนั้นความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดรุนแรงเช่น Crouzon syndrome ในประเทศไทยรักษาแทบจะไม่ค่อยได้เลย รศ.นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์ หัวหน้าผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลจึงชักชวนให้ไปเรียนทางด้านนี้

ค.ศ.1983 อาจารย์ได้รับระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ไปศึกษาต่อทางด้านศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดร ุนแรงที่ Australian Craniofacial Unit ใน Adelaide ประเทศออสเตรเลีย, ที่ศูนย์การแพทย์ Nassau County และศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้รับประกาศนียบัตรทางด้านศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหล กศีรษะ

ระหว่างที่ศึกษาฝึกอบรมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย อาจารย์ได้เสนอความคิดต่อศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลีย David John David ในการจำแนกโรค Hemifacial Microsomia (HFM) ซึ่งเป็นความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิดประกอบไปด้วยความพิการของใบหน้าส่วนก ระดูก (Skeleton ), ใบหู (Auricle) และเนื้อเยื่อ (Soft Tissue) เป็น SAT Classification โดยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Plastic Reconstructive Surgery ของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1987 (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3659162) นอกจากนี้อักษร SA นั้นยังหมายถึงรัฐออสเตรเลียใต้ (South Australia) และ T หมายถึงประเทศไทย (Thailand) อีกด้ว

หลังจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1986 อาจารย์กลับมาจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะที่โรงพย าบาลจุฬาลงกรณ์เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจารย์ร่วมกับ ผศ.นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร (Chopoew Taecholarn) ประสาทศัลยแพทย์คิดค้นการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างซึ่งพบชุกชุมในประเทศไทยโดยว ิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายเรียกว่า "จุฬาเทคนิค (Chula technique)" (J Craniofac Surg. 1991;2:127-133; discussion 134.) จนได้รับรางวัลมหิดล-บี บราวน์ประจำปี ค.ศ. 1999 ร่วมกัน

อาจารย์ได้ร่วมจัดตั้งและเป็นหัวหน้าศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศ ีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จมา เปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2008 และพระราชทานนามศูนย์ใหม่ว่า “ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”

อาจารย์สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งกรรมกา รบริหาร The International Society of Craniofacial Surgery ในฐานะตัวแทนทวีปเอเชีย, เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหารสมาคม The Asian Pacific Craniofacial Association และเป็น Editorial Board ของ The Journal of Craniofacial Surgery นอกจากนี้ยังเป็นประธานและวิทยากรรับเชิญในการประชุมระดับนานาชาติอีกหลายคร ั้ง

ศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศัลยกรรมกะโหลกศีรษะและใบหน้าของไทย (Father of craniofacial surgery in Thailand)

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

MMM(169) Father of modern craniofacial surgery

 
 
 
 
Paul Louis Ernest Tessier (1917-2008)
 
 
เกิดวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1917 ที่ Héric เมืองเล็ก ๆ ใกล้กับ Nantes ใน Loire Valley of Brittany  ประเทศฝรั่งเศส
บิดาของเขาเป็นพ่อค้าไวน์  ตอนนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 บิดาของเขาถูกจับไปเป็นเชลยสงครามและถูกส่งไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์  หลังสงครามจึงกลับมายัง Heric และมาร่วมสร้างบริษัทกับพ่อตาคือ August Clergeau ซึ่งเป็นพ่อค้าไวน์เช่นกัน
เดิม Tessier ใฝ่ฝันจะเป็นวิศวกรในกองทัพเรือแต่เนื่องจากเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้ขาดเรียนบ่อย  ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ดีจึงเปลี่ยนใจจะเป็นพนักงานป่าไม้  แต่ท้ายที่สุดตัดสินใจเข้าเรียนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ Nantes ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936  ระหว่างเรียนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในปี ค.ศ. 1939 และถูกจับเป็นเชลยสงครามที่โรงพยาบาลทหารเยอรมันใกล้ Nantes ในปี ค.ศ. 1940  ต่อมาเขาป่วยหนักใกล้ตายแต่แพทย์วินิจฉัยไม่ได้  มารดาได้รับอนุญาตเข้าเยี่ยมและพา Veran อาจารย์แพทย์ที่สอนวิชาโรคติดเชื้อมาด้วยซึ่งวินิจฉัยโรค typhoid myocarditis ได้ในเวลาเพียง 10 วินาที  เขาจึงรอดชีวิตและได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1941   
ช่วง intern ในปี ค.ศ. 1942 ที่ Nantes เขาได้เห็นศัลยแพทย์ทั่วไป Robert Burea ผ่าตัดรักษาโรคปากแหว่งและ Dupuytren’s contracture จึงเริ่มเป็นที่สนใจในศัลยกรรมตกแต่งด้านความผิดปกติของใบหน้า  นอกจากนี้ยังได้สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Gabriel-Pierre Sourdille (1901-1956) จักษุแพทย์ผู้นำในฝรั่งเศส   
เขาจบแพทย์ในปี ค.ศ. 1943 จาก Faculté de Médecine de Paris (Paris Faculty of Medicine) และเป็น resident ศัลยกรรมที่ Nantes  เขาติวนักศึกษา 5 คนโดย 4 คนในนั้นสอบได้คะแนน 4 อันดับแรก  เขาเกือบตายอีกครั้งที่ Nantes จากการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ  บ่ายวันนั้นนักศึกษาเชิญเขาไปฉลองบนเรือภัตตาคาร  Tessier จึงแลกเวรกับเพื่อน  ปรากฎว่าห้อง on call ถูกระเบิดทำลายและเพื่อนร่วมงานผู้โชคร้ายเสียชีวิต 
เนื่องจากโรงพยาบาลใน Nantes ถูกทำลายเขาจึงเดินทางไปยังกรุงปารีสเพื่อเทรนด้าน maxillofacial surgery กับ Aubry และ Maurice Virenque (1886-1946) ที่ Hôpital de Puteaux  ก่อนจะไปเทรนต่อกับ Georges Huc (1887-1964) กุมารศัลยแพทย์ที่ Hôpital Saint-Joseph ในปี ค.ศ. 1944
ระหว่างทศวรรษ 1940-1950 เขาใช้เวลาหลายเดือนในแต่ละปีไปพบศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นนำทั่วโลกอาทิ Sir Harold Delf Gillies (1882-1960), Sir Archibald McIndoe (1900-1960), Rainsford Mowlem (1902–1986) และ Thomas Pomfret Kilner (1890-1964) ในอังกฤษ Jerome Pierce Webster (1888-1974), James Barrett Brown (1899-1971), Gustave Aufricht (1894-1980), Sterling Bunnell (1882-1957) และ David Ralph Millard, Jr. (1919-2011) ในสหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ
ที่ Hôpital Foch มี Maxillofacial Unit 2 ทีมโดยมีหัวหน้าคือ Virenque กับ Gustave Ginestet (1897-1977) ซึ่งทำงานแยกจากกันเลยและเป็นศัตรูกัน  เมื่อ Virenque (หัวหน้าของ Tessier) เสียชีวิตในปี ค.. 1946 จึงเหลือเพียง Ginestet ครองอำนาจคนเดียว  ค.ศ. 1949 Tessier ได้รับตำแหน่งที่ Hôpital Foch ใน Boulonge โดยทำงานที่ burn unit ซึ่ง burn reconstructions บางอย่างที่เขาทำยังเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งหัวหน้าทีม Maxillofacial Unit ด้วย  ซึ่ง Ginestet อาจจะกลัวในความสามารถจึงออกคำสั่งห้ามภาควิชาทันตกรรมช่วยเหลือเขาในการผ่าตัดด้านนี้ 
ค.ศ. 1957 Tessier ได้รับปรึกษาเคส Crouzon syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติของใบหน้าชนิดรุนแรงจน Gillies กล่าวว่าไม่สามารถผ่าตัดได้  เนื่องจากโดนห้ามไม่ให้เข้าห้องกายวิภาคศาสตร์  หลังเลิกงานตอนเย็น Tessier จึงต้องขึ้นรถไฟเดินทางกว่า 250 ไมล์ไปยัง Nantes เพื่อฝึก dissect กับศพกลางดึกและนอนบนรถไฟเที่ยวตีสองครึ่งกลับมาทำงานที่กรุงปารีสเช้าวันรุ่งขึ้น  ทำเช่นนี้จนกระทั่งคิดค้นเทคนิคแยกชิ้นส่วนของกระดูกใบหน้าและจัดเรียงใหม่ได้โดยพื้นที่ว่างก็นำกระดูกของผู้ป่วยมาเติม  เขาไม่สนใจคำสั่งห้ามดังกล่าวและประสบความสำเร็จในการทำ Le Fort III osteotomy เป็นครั้งแรกกับผู้ป่วยชื่อ Maurice Anquetil ในปี ค.ศ. 1958 
ความก้าวหน้าต่อมาคือการคิดค้นเทคนิคการแยกเบ้าตาจากกะโหลกแล้วจัดเรียงลูกตาใหม่โดยไม่กระทบการมองเห็น  ค.ศ. 1964 Tessier ร่วมกับประสาทศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส Gerard Guiot (1912-1996) ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแก้ไขเบ้าตาห่างเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1967 ที่ประชุมนานาชาติในกรุงโรม  เขานำเสนอผลงานการคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดรักษาความผิดปกติของกะโหลกและใบหน้าชนิดรุนแรงซึ่งไม่เคยรักษาได้มาก่อนสร้างความตกตะลึงให้กับวงการศัลยกรรมตกแต่งเลยทีเดียว   ภาษิตของเขาคือ  "pourquoi pas?" ในภาษาฝรั่งเศสหรือ “why not?” ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า “ทำไมไม่?” ทำให้มุ่งมั่นไม่เพียงแก้ไขความผิดปกติให้ดูดีขึ้นเท่านั้นแต่ทำให้กลับมาเป็นปกติเลยทีเดียวดังปรัชญาของเขาที่ว่า "if it is not normal it is not enough"
ต่อมาเขายังคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดรักษา Treacher Collins syndrome และ oro-ocular cleft  ศัลยแพทย์จากทั่วโลกต่างเดินทางมาฝึกกับเขาที่กรุงปารีส  มีผู้ป่วยมารับการรักษามากมายจนเตียงไม่พอทางโรงพยาบาลจึงสั่งยกเลิกการผ่าตัด  เขาจึงลาออกมาอยู่โรงพยาบาลเอกชน Clinic Belvedere ในกรุงปารีสซึ่งเขายังจ่ายค่ารักษาให้กับผู้ป่วยยากจนเองด้วย
ทศวรรษ 1970 เขาไปเป็น visiting professor ที่โรงพยาบาลเด็ก Great Ormond Street ในอังกฤษและผ่าตัดจนถึงกลางทศวรรษ 1970 (แต่ยังคงเป็น visiting professor จนถึงทศวรรษ 1990)
International Society of Craniofacial Surgery ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1983 โดย Tessier ได้รับเชิญเป็นประธานกิตติมศักดิ์  และพยางค์ "Pourquoi pas?" เป็นภาษิตของสมาคม
เขาแต่งงานกับ Mireille ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ Claude, Laurence และ Jean Paul
เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า superficial musculoaponeurotic system (SMAS)  ผลงานที่สร้างไว้ทำให้ได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมายอาทิ Jacobson Innovation Award ของ American College of Surgeons ในปี ค.ศ. 2000, Gillies Lectureship and Gold Medal ของ British Association of Plastic Surgeons และยอมรับ Chevalier de Légion d'honneur ในปี ค.ศ. 2005 (หลังจากปฏิเสธอยู่หลายปี)
เขาเสียชีวิตที่กรุงปารีสในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2008 และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศัลยกรรมกะโหลกและใบหน้ายุคใหม่ (Father of modern craniofacial surgery)
เขาไม่ขอรับตำแหน่งศาสตราจารย์  และตลอดชีวิตมักเปรยเสมอว่า ถ้าหัตถการใด ผ่าไม่ถึง 1,000 เคส จะไม่เขียน รายงานเคสจึงมักเจอ large case series จากเขาเสมอ  ในห้องผ่าตัด Tessier สงบมาก เปิดเพลงคลาสสิกเบา ๆ เวลาทำผ่าตัด resident ห้ามพูดห้ามเล่นในห้องผ่าตัด  แต่ไม่ดุ เป็นครูที่พร้อมจะสอนลูกศิษย์เสมอ  ลูกศิษย์คนสำคัญของเขาคือ McCarthy จากนิวยอร์ก ซึ่งนำสารพัดเทคนิคผ่าตัดของเขาไปเผยแพร่ที่สหรัฐฯ
 
 
เอกสารอ้างอิง
                Britto JA, Jones BM. Dr Paul Tessier: Plastic surgeon who revolutionized the treatment of facial deformity. Orbituary, The Independent 2008.
Wolf SA. Paul Tessier, Creator of a New Surgical Specialty, is Recipient of Jacobson Innovation Award. J Craniofac Surg 2001; 12(1): 98-9.
Wolf SA. Paul L. Tessier, M.D. 1917-2008. Memoirs, American Association of Plastic Surgeons.
 
 

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

MMM(168) radiologic signs of pulmonary embolism

สิ่งแสดงในภาพรังสีทรวงอกของ pulmonary embolism มีหลายอย่างได้แก่

Fleischner sign (enlargement of central pulmonary artery)

Westermark sign (decrease vascularity in the peripheral lung)

Hampton sign (pleura-based area of increase opacity)

Pallas sign (enlargement of right descending pulmonary artery)

Felix George Fleischner (1893-1969)

เกิดวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1893 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

จบแพทย์จากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1919 หลังปฏิบัติงานกับศาสตราจารย์ Wenckebach และ Elias เพียงหนึ่งปีเขาก็ตัดสินใจที่จะเป็นรังสีแพทย์

เขาเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาของ Vienna C.S. Child’s Hospital นาน 6 ปี

21 มิถุนายน ค.ศ. 1928 เขาแต่งงานกับ Risa Sporer และมีบุตรสาวด้วยกันสองคนคือ Susanne กับ Elisabeth

ค.ศ. 1930 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา

ฮิตเลอร์เข้ายึดประเทศออสเตรียในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1938 และขับไล่ชาวยิวออกจากมหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา 30 สิงหาคม ค.ศ. 1938 Fleischner จึงตัดสินใจพาครอบครัวเดินทางมานิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเรือ SS Ile de France ก่อนจะไปพบเพื่อน Eric Pick ที่บอสตัน

Fleischner ทำงานกับ George W. Holmes รังสีแพทย์ชาวอเมริกันที่ภาควิชารังสีวิทยาของโรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์สองปีและทำเวชปฏิบัติส่วนตัวที่ Greenfield แมสซาชูเซตส์สองปี

กันยายน ค.ศ. 1942 เขาได้ตำแหน่งรังสีแพทย์ประจำที่โรงพยาบาล Beth Israel, โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและ Tufts เขาเริ่มการเทรนด้านรังสีวิทยาอย่างเป็นทางการแห่งแรกที่ โรงพยาบาล Beth Israel

เขาเป็นผู้บรรยายสิ่งแสดงในภาพรังสีทรวงอกที่เรียกว่า Fleischner line และ Fleischner sign

ค.ศ. 1952 เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาที่ฮาร์วาร์ด

ค.ศ. 1960 เขาเกษียณจากโรงพยาบาล Beth Israel แต่ยังคงสอนที่โรงพยาบาล Peter Brent Brigham และโรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยหัวใจวายเฉียบพลันที่บอสตันในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1969

ธันวาคม ค.ศ. 1969 รังสีแพทย์จากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนัดประชุมกันอย่างเป็นทางการที่ชิคาโกประกอบด้วย Robert Gordon Fraser (1921-2002) รังสีแพทย์ชาวแคนาดา, Leo George Rigler (1896-1979) รังสีแพทย์ชาวอเมริกัน, Benjamin Felson (1913-1988) รังสีแพทย์ชาวอเมริกัน, George Simon (1902-1977) รังสีแพทย์ชาวอังกฤษ, Norman Blank (1925-1998) รังสีแพทย์ชาวอเมริกัน, Richard H. Greenspan (1925-2004) รังสีแพทย์ชาวอเมริกัน, Eric Milne รังสีแพทย์ชาวแคนาดา และ Morris Simon (1926-2005) รังสีแพทย์ชาวแอฟริกาใต้ โดย Fleischner ได้รับเชิญเข้าประชุมด้วยแต่เสียชีวิตไปก่อน การประชุมนำไปสู่การก่อตั้งสมาคมรังสีวิทยาทรวงอกนานาชาติและใช้ชื่อว่า The Fleischner Society เพื่อเป็นเกียรติแก่ Fleischner

Fleischner ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้อาวุโสแห่งการวินิจฉัยทางรังสี (Doyen of radiodiagnosis)


Aubrey Otis “Hamp” Hampton (1900-1955)

เกิดในปี ค.ศ. 1900 ที่ Copeville เท็กซัส

ค.ศ. 1925 จบแพทย์จากวิทยาลัยแพทย์ Baylor และทำ internship ที่ดัลลัส

ค.ศ. 1926 เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์โดยเทรนด้านรังสีวิทยากับ George W. Holmes

ค.ศ. 1940 เขาบรรยายสิ่งแสดงในภาพรังสีทรวงอกที่เรียกว่า Hampton hump นอกจากนี้เขายังเป็นเจ้าของ Hampton line อีกด้วย

เมื่อ Holmes เกษียณ ค.ศ. 1941 Hampton ก็รับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาของโรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์ต่อ

ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1942-1945 เขาไปเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาของโรงพยาบาลทหาร Walter Reed ในชิคาโก หลังสิ้นสุดสงครามเขามารับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาที่โรงพยาบาล Garfield ในวอชิงตัน แต่ยังคงมีสายสัมพันธ์กับทางทหารโดยเป็นที่ปรึกษาด้านรังสีวิทยาของโรงพยาบาล Walter Reed และเมื่อมีการปรับปรุงด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลทหารผ่านศึกเขาก็ได้เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาด้านรังสีวิทยา

เขาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่ฟาร์มของเขาใน Weare นิวแฮมเชียร์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1955


สำหรับ
Westermark sign นั้นเป็นของ Neil Westermark (1904-?) รังสีแพทย์ชาวเยอรมัน


เอกสารอ้างอิง

http://fleischnersociety.org/chest/Fleischner_Memorial.html

http://radiology.rsna.org/content/65/6/940.2.full.pdf