Paul
Louis Ernest Tessier (1917-2008)
เกิดวันที่ 1
สิงหาคม ค.ศ. 1917 ที่ Héric
เมืองเล็ก ๆ ใกล้กับ Nantes ใน Loire Valley of
Brittany ประเทศฝรั่งเศส
บิดาของเขาเป็นพ่อค้าไวน์ ตอนนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 บิดาของเขาถูกจับไปเป็นเชลยสงครามและถูกส่งไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังสงครามจึงกลับมายัง Heric และมาร่วมสร้างบริษัทกับพ่อตาคือ August Clergeau ซึ่งเป็นพ่อค้าไวน์เช่นกัน
เดิม Tessier ใฝ่ฝันจะเป็นวิศวกรในกองทัพเรือแต่เนื่องจากเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้ขาดเรียนบ่อย
ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ดีจึงเปลี่ยนใจจะเป็นพนักงานป่าไม้
แต่ท้ายที่สุดตัดสินใจเข้าเรียนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ Nantes ในเดือนตุลาคม
ค.ศ. 1936
ระหว่างเรียนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในปี ค.ศ. 1939
และถูกจับเป็นเชลยสงครามที่โรงพยาบาลทหารเยอรมันใกล้ Nantes ในปี ค.ศ. 1940 ต่อมาเขาป่วยหนักใกล้ตายแต่แพทย์วินิจฉัยไม่ได้ มารดาได้รับอนุญาตเข้าเยี่ยมและพา Veran
อาจารย์แพทย์ที่สอนวิชาโรคติดเชื้อมาด้วยซึ่งวินิจฉัยโรค typhoid
myocarditis ได้ในเวลาเพียง 10 วินาที เขาจึงรอดชีวิตและได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1941
ช่วง intern ในปี ค.ศ. 1942 ที่ Nantes เขาได้เห็นศัลยแพทย์ทั่วไป
Robert Burea ผ่าตัดรักษาโรคปากแหว่งและ Dupuytren’s
contracture จึงเริ่มเป็นที่สนใจในศัลยกรรมตกแต่งด้านความผิดปกติของใบหน้า นอกจากนี้ยังได้สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Gabriel-Pierre
Sourdille (1901-1956) จักษุแพทย์ผู้นำในฝรั่งเศส
เขาจบแพทย์ในปี ค.ศ. 1943 จาก Faculté
de Médecine de Paris (Paris Faculty of Medicine) และเป็น resident
ศัลยกรรมที่ Nantes เขาติวนักศึกษา 5 คนโดย 4 คนในนั้นสอบได้คะแนน
4 อันดับแรก เขาเกือบตายอีกครั้งที่ Nantes
จากการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
บ่ายวันนั้นนักศึกษาเชิญเขาไปฉลองบนเรือภัตตาคาร Tessier จึงแลกเวรกับเพื่อน ปรากฎว่าห้อง on call ถูกระเบิดทำลายและเพื่อนร่วมงานผู้โชคร้ายเสียชีวิต
เนื่องจากโรงพยาบาลใน Nantes
ถูกทำลายเขาจึงเดินทางไปยังกรุงปารีสเพื่อเทรนด้าน maxillofacial
surgery กับ Aubry และ Maurice
Virenque (1886-1946) ที่ Hôpital de Puteaux ก่อนจะไปเทรนต่อกับ
Georges Huc (1887-1964) กุมารศัลยแพทย์ที่
Hôpital Saint-Joseph ในปี ค.ศ. 1944
ระหว่างทศวรรษ 1940-1950
เขาใช้เวลาหลายเดือนในแต่ละปีไปพบศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นนำทั่วโลกอาทิ Sir Harold Delf
Gillies (1882-1960), Sir Archibald McIndoe (1900-1960), Rainsford Mowlem (1902–1986) และ Thomas Pomfret Kilner (1890-1964) ในอังกฤษ
Jerome Pierce Webster (1888-1974), James Barrett Brown (1899-1971),
Gustave Aufricht (1894-1980), Sterling Bunnell (1882-1957) และ
David Ralph Millard, Jr. (1919-2011) ในสหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ
ที่ Hôpital Foch มี Maxillofacial
Unit 2 ทีมโดยมีหัวหน้าคือ Virenque กับ Gustave Ginestet (1897-1977) ซึ่งทำงานแยกจากกันเลยและเป็นศัตรูกัน
เมื่อ Virenque (หัวหน้าของ Tessier) เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1946 จึงเหลือเพียง
Ginestet ครองอำนาจคนเดียว ค.ศ. 1949 Tessier ได้รับตำแหน่งที่ Hôpital
Foch ใน Boulonge โดยทำงานที่ burn unit ซึ่ง burn
reconstructions บางอย่างที่เขาทำยังเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งหัวหน้าทีม
Maxillofacial Unit ด้วย
ซึ่ง Ginestet
อาจจะกลัวในความสามารถจึงออกคำสั่งห้ามภาควิชาทันตกรรมช่วยเหลือเขาในการผ่าตัดด้านนี้
ค.ศ. 1957 Tessier ได้รับปรึกษาเคส
Crouzon syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติของใบหน้าชนิดรุนแรงจน Gillies
กล่าวว่าไม่สามารถผ่าตัดได้
เนื่องจากโดนห้ามไม่ให้เข้าห้องกายวิภาคศาสตร์ หลังเลิกงานตอนเย็น Tessier จึงต้องขึ้นรถไฟเดินทางกว่า 250 ไมล์ไปยัง Nantes เพื่อฝึก dissect กับศพกลางดึกและนอนบนรถไฟเที่ยวตีสองครึ่งกลับมาทำงานที่กรุงปารีสเช้าวันรุ่งขึ้น
ทำเช่นนี้จนกระทั่งคิดค้นเทคนิคแยกชิ้นส่วนของกระดูกใบหน้าและจัดเรียงใหม่ได้โดยพื้นที่ว่างก็นำกระดูกของผู้ป่วยมาเติม
เขาไม่สนใจคำสั่งห้ามดังกล่าวและประสบความสำเร็จในการทำ Le Fort III
osteotomy เป็นครั้งแรกกับผู้ป่วยชื่อ Maurice Anquetil ในปี ค.ศ. 1958
ความก้าวหน้าต่อมาคือการคิดค้นเทคนิคการแยกเบ้าตาจากกะโหลกแล้วจัดเรียงลูกตาใหม่โดยไม่กระทบการมองเห็น ค.ศ. 1964 Tessier
ร่วมกับประสาทศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส Gerard Guiot (1912-1996) ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแก้ไขเบ้าตาห่างเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1967
ที่ประชุมนานาชาติในกรุงโรม
เขานำเสนอผลงานการคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดรักษาความผิดปกติของกะโหลกและใบหน้าชนิดรุนแรงซึ่งไม่เคยรักษาได้มาก่อนสร้างความตกตะลึงให้กับวงการศัลยกรรมตกแต่งเลยทีเดียว ภาษิตของเขาคือ "pourquoi
pas?" ในภาษาฝรั่งเศสหรือ “why not?” ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า
“ทำไมไม่?”
ทำให้มุ่งมั่นไม่เพียงแก้ไขความผิดปกติให้ดูดีขึ้นเท่านั้นแต่ทำให้กลับมาเป็นปกติเลยทีเดียวดังปรัชญาของเขาที่ว่า
"if it is not normal it is not enough"
ต่อมาเขายังคิดค้นเทคนิคการผ่าตัดรักษา
Treacher Collins syndrome และ oro-ocular
cleft ศัลยแพทย์จากทั่วโลกต่างเดินทางมาฝึกกับเขาที่กรุงปารีส
มีผู้ป่วยมารับการรักษามากมายจนเตียงไม่พอทางโรงพยาบาลจึงสั่งยกเลิกการผ่าตัด เขาจึงลาออกมาอยู่โรงพยาบาลเอกชน Clinic
Belvedere ในกรุงปารีสซึ่งเขายังจ่ายค่ารักษาให้กับผู้ป่วยยากจนเองด้วย
ทศวรรษ 1970
เขาไปเป็น visiting professor ที่โรงพยาบาลเด็ก
Great Ormond Street ในอังกฤษและผ่าตัดจนถึงกลางทศวรรษ 1970 (แต่ยังคงเป็น visiting professor จนถึงทศวรรษ 1990)
International Society
of Craniofacial Surgery ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1983 โดย Tessier ได้รับเชิญเป็นประธานกิตติมศักดิ์ และพยางค์ "Pourquoi
pas?" เป็นภาษิตของสมาคม
เขาแต่งงานกับ Mireille ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ Claude,
Laurence และ Jean Paul
เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่า superficial
musculoaponeurotic system (SMAS) ผลงานที่สร้างไว้ทำให้ได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมายอาทิ Jacobson Innovation Award ของ
American College of Surgeons ในปี ค.ศ. 2000, Gillies
Lectureship and Gold Medal ของ British Association of
Plastic Surgeons และยอมรับ Chevalier de Légion d'honneur ในปี ค.ศ. 2005 (หลังจากปฏิเสธอยู่หลายปี)
เขาเสียชีวิตที่กรุงปารีสในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2008 และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศัลยกรรมกะโหลกและใบหน้ายุคใหม่
(Father of modern craniofacial surgery)”
เขาไม่ขอรับตำแหน่งศาสตราจารย์ และตลอดชีวิตมักเปรยเสมอว่า ถ้าหัตถการใด
ผ่าไม่ถึง 1,000 เคส จะไม่เขียน
รายงานเคสจึงมักเจอ large case series จากเขาเสมอ ในห้องผ่าตัด Tessier สงบมาก
เปิดเพลงคลาสสิกเบา ๆ เวลาทำผ่าตัด resident
ห้ามพูดห้ามเล่นในห้องผ่าตัด
แต่ไม่ดุ เป็นครูที่พร้อมจะสอนลูกศิษย์เสมอ ลูกศิษย์คนสำคัญของเขาคือ McCarthy จากนิวยอร์ก ซึ่งนำสารพัดเทคนิคผ่าตัดของเขาไปเผยแพร่ที่สหรัฐฯ
เอกสารอ้างอิง
Britto
JA, Jones BM. Dr Paul Tessier: Plastic surgeon who revolutionized the treatment
of facial deformity. Orbituary, The Independent 2008.
Wolf SA.
Paul Tessier, Creator of a New Surgical Specialty, is Recipient of Jacobson
Innovation Award. J Craniofac Surg 2001; 12(1): 98-9.
Wolf SA.
Paul L. Tessier, M.D. 1917-2008. Memoirs, American Association of Plastic
Surgeons.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น