วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

MMM(170) Father of craniofacial surgery in Thailand

ศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ (Charan Mahatumarat)


เกิดวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่จังหวัดอยุธยา

จบการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท

จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1973

ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จนได้รับวุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป

หลังเรียนจบทางด้านศัลยกรรมทั่วไปได้มาเรียนต่อทางด้านศัลยกรรมตกแต่งจนได้ร ับอนุมัติบัตรสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง เป็นอาจารย์ในหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1983

ขณะนั้นความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดรุนแรงเช่น Crouzon syndrome ในประเทศไทยรักษาแทบจะไม่ค่อยได้เลย รศ.นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์ หัวหน้าผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลจึงชักชวนให้ไปเรียนทางด้านนี้

ค.ศ.1983 อาจารย์ได้รับระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ไปศึกษาต่อทางด้านศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดร ุนแรงที่ Australian Craniofacial Unit ใน Adelaide ประเทศออสเตรเลีย, ที่ศูนย์การแพทย์ Nassau County และศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้รับประกาศนียบัตรทางด้านศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหล กศีรษะ

ระหว่างที่ศึกษาฝึกอบรมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย อาจารย์ได้เสนอความคิดต่อศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลีย David John David ในการจำแนกโรค Hemifacial Microsomia (HFM) ซึ่งเป็นความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิดประกอบไปด้วยความพิการของใบหน้าส่วนก ระดูก (Skeleton ), ใบหู (Auricle) และเนื้อเยื่อ (Soft Tissue) เป็น SAT Classification โดยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Plastic Reconstructive Surgery ของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1987 (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3659162) นอกจากนี้อักษร SA นั้นยังหมายถึงรัฐออสเตรเลียใต้ (South Australia) และ T หมายถึงประเทศไทย (Thailand) อีกด้ว

หลังจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1986 อาจารย์กลับมาจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะที่โรงพย าบาลจุฬาลงกรณ์เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจารย์ร่วมกับ ผศ.นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร (Chopoew Taecholarn) ประสาทศัลยแพทย์คิดค้นการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างซึ่งพบชุกชุมในประเทศไทยโดยว ิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายเรียกว่า "จุฬาเทคนิค (Chula technique)" (J Craniofac Surg. 1991;2:127-133; discussion 134.) จนได้รับรางวัลมหิดล-บี บราวน์ประจำปี ค.ศ. 1999 ร่วมกัน

อาจารย์ได้ร่วมจัดตั้งและเป็นหัวหน้าศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศ ีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จมา เปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2008 และพระราชทานนามศูนย์ใหม่ว่า “ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”

อาจารย์สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งกรรมกา รบริหาร The International Society of Craniofacial Surgery ในฐานะตัวแทนทวีปเอเชีย, เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหารสมาคม The Asian Pacific Craniofacial Association และเป็น Editorial Board ของ The Journal of Craniofacial Surgery นอกจากนี้ยังเป็นประธานและวิทยากรรับเชิญในการประชุมระดับนานาชาติอีกหลายคร ั้ง

ศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศัลยกรรมกะโหลกศีรษะและใบหน้าของไทย (Father of craniofacial surgery in Thailand)

ไม่มีความคิดเห็น: