วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
MMM(188) Swenson procedure
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
MMM(187) Pel-Ebstein fever
Pieter Klaases Pel (1852-1919)
เกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1852 ที่ drachten เทศบาลเมือง Smallingerland ในจังหวัด Friesland ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นบุตรชายของนายแพทย์ Klaas Pieter Pel กับ Wibbina
เดิมทีบรรพบุรุษของเขาเป็นเจ้าของโรงโม่เปลือกแถว ๆ เมือง
เขาเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ Sneek ใน Firesland ก่อนจะไปสมัครเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแห่ง Leden ในปี ค.ศ. 1869 จนถึงปี ค.ศ. 1873 แล้วไปเป็นผู้ช่วยของ Samuel Siegmund Rosenstein (1832-1906) ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์ที่ Leiden ก่อนจะจบแพทย์ด้วยเกียรตินิยมชั้น cum laude ในปี ค.ศ. 1876 ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่อง “The Fever Inducing Effect of Digitaline.”
จากนั้นก็ไปศึกษาเพิ่มเติมที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่กรุงเวียนนาเขาได้พบกับ G. H. van der Mey (ศาสตราจารย์ด้านสูตินรีเวชศาสตร์ในเวลาต่อมา) ซึ่งแนะนำให้เขาไปเป็นเป็นแพทย์ประจำบ้านภายใต้ Barend Joseph Stokvis (1834-1902) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1877
ค.ศ. 1878 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิก (chef de Clinique assistant) ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงอัมสเตอร์ดัม ต่อมา
ค.ศ. 1880 เป็นรองศาสตราจารย์และเป็นผู้บรรยายเรื่องโรคติดต่อและการวินิจฉัยทางสรีรวิทยา ในที่สุดก็ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์ต่อจาก Stokvis ในปี ค.ศ. 1883
เขาให้ความสำคัญกับการสอนข้างเตียงเห็นได้จากคำกล่าวเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งว่า “Whereas, formerly, the sick patient functioned primarily as an example or illustration of the dominating theoretical education, in the modern world the careful, objective examination of the patient warrants priority attention.”
เมื่อเจอโรคที่หายากเขามักจะสอนนักเรียนว่า “When someone tells me that an animal on four feet is walking around in the yard next door, it could be a small tiger or elephant, but I still would rather think of a cat or a dog.” มีความหมายทำนองเดียวกับคำคมที่ว่า “When you hear hoofbeats behind you, think horses, not zebras. (ถ้าได้ยินเสียงฝีเท้าของสัตว์กีบข้างหลังเรา ให้นึกถึงม้าเป็นอันดับแรก ไม่ใช่ม้าลาย)" ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดเลยไม่รู้ว่าประโยคไหนเกิดขึ้นก่อนกัน
ค.ศ. 1885 เขาบรรยายลักษณะไข้เรื้อรังในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (ตอนนั้นเรียกกันว่า Pseudo-leukemia) ในวารสารภาษาเยอรมัน Berliner Klinische Wochenschrift ในบทความ “Zur Symptomatologie der sog. Pseudoleukaemie (To symptomatology of the so-called pseudoleukemia)” โดยเป็นผู้ป่วยสองรายที่มีไข้ 12-14 วันสลับกับช่วงที่ไม่มีไข้ 10 วัน ตุลาคมปีนั้นเองเขาก็บรรยายผู้ป่วยรายที่สามในวารสารการแพทย์เนเธอร์แลนด์ Nederlands Tijdschrift voor Geneeskunde สองปีต่อมาสิงหาคม ค.ศ. 1887 อายุรแพทย์ชาวเยอรมัน Wilhelm Ebstein (1836 –1912) ก็บรรยายลักษณะไข้ดังกล่าวในผู้ป่วย 1 รายลงวารสาร Berliner Klinische Wochenschrift บทความชื่อ “Das chronische Rückfallfieber, eine neue Infektionskrankheit (The chronic recurrent fever, a new infection disease)” โดยมีความเห็นต่างจาก Pel ว่าไม่ใช่อาการของ pseudo-leukemia แต่น่าจะเป็นโรคติดเชื้อชนิดใหม่ (ซึ่งผิด) อย่างไรก็ตามอาการแสดงนี้รู้จักกันในชื่อ Pel-Ebstein fever [ก่อนหน้านั้น ค.ศ. 1870 แพทย์ชาวอังกฤษ Charles Murchison (21 พ.ค. 1830 - 23 เม.ย. 1879) ก็เคยรายงานผู้ป่วยไว้ใน Transactions of the pathological society of London vol XXI.page 372 เป็นเด็กหญิงวัย 6 ขวบที่มีต่อมน้ำเหลืองโตและมีไข้สลับกับช่วงไม่มีไข้ บางคนจึงเรียกว่า Murchison-Pel-Ebstein Fever แต่เนื่องจาก Murchison ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องไข้ใน discussion เลย ส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกว่า Pel-Ebstein fever มากกว่า]
นอกจากนี้ Pel ยังบรรยายภาวะวิกฤติทางตาในผู้ป่วย tabes dorsalis ที่เรียกว่า Pel’s crisis (ปัจจุบันนิยมเรียกว่า tabetic ocular crisis มากกว่า)
ค.ศ. 1886 เขาได้รับตำแหน่งประธานสมาคมแพทย์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Nederlandse Maatschappij ter bevordering van de Geneeskunst)
ค.ศ. 1891 เขาได้รับเชิญให้ไปทำงานที่มหาวิทยาลัย
เขาแต่งงานกับ Marie Salomonson บุตรสาวของครอบครัวพอมีอันจะกินจาก Twente ทางตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1879 ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 8 คนประกอบด้วย Wibbina (เกิด ค.ศ. 1880), Lodewijk (เกิด ค.ศ. 1882), Elisabeth (เกิด ค.ศ. 1884), Johanna (เกิด ค.ศ. 1889), Francis (เกิด ค.ศ. 1891), Nico (เกิด ค.ศ. 1893),
ค.ศ. 1915 เขาได้รับตำแหน่งประธานสมาคมแพทย์แห่งเนเธอร์แลนด์อีกสมัย
ค.ศ. 1918 เขาเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ อาการแย่ลงเรื่อย ๆ จนต้องขอเกษียณจากตำแหน่งศาสตราจารย์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 เมษายน แต่ก็เสียชีวิตเสียก่อนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นั้นเอง
เอกสารอ้างอิง