วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

MMM(176) Golden S sign


Ross Golden (1889-1975)

เกิดวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1889 ที่รัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดในครอบครัว Methodist minister
เป็นสมาชิกในทีมเบสบอลและฟุตบอลของ Manning High School ในไอโอวาโดยจบในปี ค.ศ. 1908
หลังจบแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1916 ก็เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ประเทศฝรั่งเศส
เป็นหนึ่งในแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยารุ่นแรก ๆ ของโรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์ในบอสตัน  หลังจบการเทรน ค.ศ. 1920 ก็ได้รับตำแหน่งที่ภาควิชารังสีวิทยาของโรงพยาบาล Presbyterian นิวยอร์กในโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  ต่อมา ค.ศ. 1922 ก็เป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา
ค.ศ. 1925 เขาบรรยายผู้ป่วยห้ารายที่มีมะเร็งรุกรานหลอดลม  ภาพถ่ายรังสีทรวงอกท่า posteroanterior สองราย (เคสที่สามกับห้า) เนื้องอกอุดตันหลอดลมของปอดขวากลีบบนทำให้เกิดเงาเป็นเส้นโค้งที่ minor fissure ร่วมกับส่วนนูนของขอบเนื้องอกมองเห็นเป็นรูปตัว S กลับด้าน  จริง ๆ แล้วเขาไม่ได้กล่าวถึงสิ่งนี้เลยและไม่รู้ว่าใครเป็นคนสังเกตคนแรกแต่อาการแสดงนี้ก็รู้จักกันในชื่อ reverse S sign of Golden หรือ Golden S sign
ค.ศ. 1927 เขาไปยังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเพื่อเรียนกับรังสีแพทย์ผู้มีชื่อเสียง  Leo George Rigler (1896–1979) รังสีแพทย์ชาวอเมริกันเจ้าของ Rigler's sign (double wall sign) ก็เรียนรุ่นเดียวกัน
ค.ศ. 1928 เขาไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการงานบริการรังสีวิทยาที่ศูนย์การแพทย์ Columbia-Presbyterian ใน Washington Heights ซึ่งพึ่งเปิดใหม่โดยได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์
มหาวิทยาลัยโคลัมเบียก่อตั้งภาควิชารังสีวิทยาขึ้นในปี ค.ศ. 1934  Golden เป็นหัวหน้าภาควิชาคนแรกและได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยา 
เขาได้รับตำแหน่งประธานวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งอเมริกันในปี ค.ศ. 1943 และเป็นประธานของสมาคมรังสี Roentgen แห่งอเมริกันในปี ค.ศ. 1945
เขาเกษียณจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี ค.ศ. 1954 จากนั้นก็ไปเป็น visiting professor ด้านรังสีวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles: UCLA) เป็นเวลา 10 ปี  เพื่อเป็นเกียรติแด่ Golden เมื่อมีการสร้างห้องสมุดของภาควิชาจึงตั้งชื่อว่า Ross Golden Book Room
เขาเสียชีวิตที่ Laguna Hills รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อ 10 มกราคม ค.ศ. 1975 ตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดคือศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านรังสีวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น: