วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

MMM(178) Crypts of Lieberkuehn

Johann Nathanael Lieberkuehn (1711-1756)

เกิดวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1711 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

เป็นบุตรชายของช่างทอง Johannes Christianus Lieberkuehn

เริ่มแรกเขาเรียนเทววิทยาตามความหวังของบิดาโดยเรียนที่ Halle Magdeburg Gymnasium ก่อนจะเข้าเรียนคณิตศาสตร์ กลศาสตร์ และปรัชญาธรรมชาติที่ academy ใน Jena

ด้วยอิทธิพลของ Georg Erhardt Hamberger (1697-1755) แพทย์ผู้มาเป็นนักคณิตศาสตร์โดยไม่ตั้งใจทำให้ Lieberkuehn หันไปศึกษาเคมี กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยากับแพทย์ชาวเยอรมัน Hermann Friedrich Teichmeyer (1686-1744) และ Johann Adolph Wedel (1675-1747)

Lieberkuehn ออกจาก Jena ในปี ค.ศ. 1733 แล้วไปที่ Rostock เพื่อไปสมัครเป็นพระร่วมกับพี่ชาย แต่ Johann Gustav Reinbech (1683-1741) นักเทววิทยาชาวเยอรมันรับรู้ถึงทัศนคติด้านวิทยาศาสตร์ของเขาจึงพาไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ Friedrich Wilhelm I (1688-1740) ซึ่งทรงปลดปล่อยเขาจากอาชีพนี้เพื่อจะได้อุทิศเวลาทั้งหมดแก่วิทยาศาสตร์และการแพทย์ (บิดาของ Lieberkuehn เสียชีวิตในเวลาเดียวกันนั้นเอง)

เขากลับไปยัง Jena ในปี ค.ศ. 1735 และเดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมที่สถาบันอื่น ๆ ด้วยรวมถึง Imperial Natural Sciences Academy ใน Erfurt นอกจากนี้ยังไปเรียนแพทย์เพิ่มเติมที่ไลเดนภายใต้ Hermann Boerhaave (1668-1738), Bernard Siegfrid Albinus (1697-1770),Hieronymus David Gaubius (1705-1780) และ Gerard van Swieten (1700-1772) จนจบแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งไลเดนในปี ค.ศ. 1739 จากนั้นไปอยู่กรุงลอนดอนไม่นานก่อนจะมาตั้งรกรากทำงานเป็นแพทย์ที่กรุงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1740

ค.ศ. 1740 เขาประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์แสงอาทิตย์ (solar microscope)

Marcello Malpighi (1628-1694) แพทย์ชาวอิตาลีค้นพบต่อมที่เยื่อบุของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1688 ต่อมา Lieberkuehn บรรยายละเอียดอีกครั้งในDe fabrica et actione vollorum intestinorum tenuium hominis” เมื่อปี ค.ศ. 1745 ปัจจุบันเรียกว่า Crypts of Lieberkuehn

เขาแต่งงานกับ Catherine Dorothy Neveling ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คนเป็นบุตรชาย 1 คนและบุตรสาว 1 คน

เขาเสียชีวิตที่กรุงเบอร์ลินในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1756

Lieberkuehn ทำ specimen ด้านกายวิภาคศาสตร์ไว้มากมาย ค.ศ. 1765 พระราชินีแห่งรัสเซีย Catherine II (1762-1796) ได้รับ specimen เหล่านั้นจึงมอบให้ Russian Medical Military Academy จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน (เก่าแก่กว่า 250 ปีเลยนะครับ ว้าว!)

ไม่มีความคิดเห็น: