John Locke “Jock”
Lovibond (1907-1954)
เกิดวันที่ 4 พฤษภาคม
ค.ศ. 1907 ที่ประเทศอังกฤษ
เป็นบุตรชายของพันตรี J. L. Lovibond
เรียนที่โรงเรียน Oundle และเคมบริดจ์
ต่อมาได้รับทุนเข้าเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาล Middlesex ในปี ค.ศ. 1929
และจบในปี ค.ศ. 1932
หลังจบแพทย์ก็เทรนต่อที่โรงพยาบาล Middlesex, Westminster
และ Brompton
ค.ศ. 1935 เขาหันมาสนใจในด้านหทัยวิทยาจนได้รับสิทธิจาก
Medical Research Council ให้ทำงานที่ Cardiographic
Department ได้ตลอดเวลา
โครงการหลักคือวิจัยเรื่อง hydrothorax ใน heart failure (ผลงานที่เป็นวิทยานิพนธ์นี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Heart เมื่อปี ค.ศ.
1941)
ค.ศ. 1937 เขาได้รับตำแหน่ง Medical
Registrar ที่โรงพยาบาล Middlesex ขณะเดียวกันก็เป็น
Assistant Physician ที่โรงพยาบาล King George ใน Ilford
อีกด้วย
ค.ศ. 1938 เขาบรรยายมุมระหว่างเล็บกับโคนเล็บว่าในคนปกติจะน้อยกว่า 160 องศา
ถ้ามากกว่า 180 องศาจะเป็นนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers) อาการแสดงนี้เรียกว่า Lovibond’s
angle หรือ Lovibond profile sign
ค.ศ. 1939 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสมทบของ
Cardiac Society
ด้วยความเป็นทหารอยู่ในสายเลือดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเขาก็เข้าร่วมทำงานในกองทัพ หลังสิ้นสุดสงครามเขากลับมาพร้อมยศพันเอก
ค.ศ. 1947 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกถาวรของ
Cardiac Society
เขาเกือบจะพลาดทุกตำแหน่งงานแต่ก็ไม่ยอมท้อถอยจนในที่สุด
ค.ศ. 1948
ถึงได้รับตำแหน่งที่เวสต์มินสเตอร์
วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1952 เขาแต่งงานกับ
Mary Cole-Hamilton (1913-?) บุตรสาวของ George
William Cole-Hamilton (1875-1946) กับ Katherine Edith Clinton-Baker (?-1960)
เขาเสียชีวิตกะทันหันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 ตรงกับวันเกิดปีที่ 47
พอดี
Leo Schamroth
(1924-1988)
เกิดวันที่ 2 มิถุนายน
ค.ศ. 1924 ที่ประเทศเบลเยียม โดยครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ตั้งแต่เขายังเป็นทารก
ค.ศ. 1948 จบแพทย์จากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแห่ง
Witwatersrand ในนครโจฮันเนสเบิร์ก
ค.ศ. 1956
ได้รับตำแหน่งสตาฟที่โรงพยาบาล Baragwanath
ค.ศ. 1957 เขาตีพิมพ์ตำรา “An Introduction
to Electrocardiography” เป็นครั้งแรก โดยหนังสือมีเพียง 90 หน้าแต่เข้าใจง่ายและชัดเจนจึงเป็นที่นิยมของนักศึกษา ร่ำลือกันว่าตำรานี้เป็นหนังสือที่ถูกขโมยไปจากห้องสมุดการแพทย์บ่อยที่สุดในโลก
ค.ศ. 1971 เขาตีพิมพ์ตำรา “The Disorders of
Cardiac Rhythm” เป็นครั้งแรก (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1980)
ค.ศ. 1972 เขาชอบสอนโดยสอนในทุกที่ทุกเวลาจนได้รับรางวัลครูต้นแบบจากวิทยาลัยหทัยแพทย์อเมริกัน ปีเดียวกันนั้นเองยังได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ประธานฝ่ายการแพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่ง
Witwatersrand และหัวหน้าแพทย์ของโรงพยาบาล Baragwanath
อีกด้วย (ครองตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียณในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1987)
ค.ศ. 1972 เขาตีพิมพ์ตำรา “The Electrocardiology of Coronary Artery Disease” เป็นครั้งแรก (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1984)
ตัวเขาเองป่วยเป็น infective
endocarditis จนเกิดนิ้วปุ้ม (clubbing of finger) ค.ศ. 1976 เขาบรรยายการทดสอบนิ้วปุ้มโดยการหันด้านหลังของนิ้วเดียวกันในข้างซ้ายและข้างขวามาประกบกัน ในคนปกติจะมี Lovibond’s angle น้อยกว่า 160 องศา จะทำให้เกิดช่องว่างรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเหมือนเพชร
(diamond-shaped window) แต่ถ้าเป็นนิ้วปุ้มจะไม่เกิดช่องว่างดังกล่าวเพราะ Lovibond’s
angle มากกว่า 180 องศานั่นเอง อาการแสดงนี้เรียกว่า Schamroth's
window test
เขาไม่มีหน่วยหทัยวิทยาของตัวเอง
ไม่เคยเรียกตัวเองว่าเป็นหทัยแพทย์แต่เป็นเพียงแพทย์ทั่วไปที่สนใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เขาหลงใหลในสิ่งนี้มากจนกล่าวว่า "Denying
me a look at this ECG is like with holding insulin from a diabetic."
เขาแต่งงานกับ Renee
และมีบุตรชายด้วยกัน 4 คน ทั้งหมดเป็นแพทย์และหนึ่งในนั้น เป็นหทัยแพทย์คือ C. Colin Schamroth
Leo Schamroth เสียชีวิตเมื่อวันที่
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1988
ที่นครโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
ค.ศ. 1989 ตำราขนาด 4 เล่มของเขา “The 12 Lead Electrocardogram” ได้รับการตีพิมพ์ สำหรับตำรา
“An Introduction to Electrocardiography” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7
ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1991 โดยมี C. Colin
Schamroth บุตรชายของเขาเองเป็นผู้ประพันธ์ ล่าสุดฉบับพิมพ์ครั้งที่ 8 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.
2013 โดยใช้ชื่อว่า “LeoSchamroth An Introduction to Electrocardiography”
เอกสารอ้างอิง
Bedford DE. J. L. Lovibond. Heart 1954; 16(4):465-7.
Lovibond JL.
Diagnosis of clubbed fingers. Lancet.
1938:363-4.
Schamroth L. Personal experience. S Afr Med J 1976; 50(9): 297–300.
Scott MR. Leo Schamroth: his contributions to clinical
electrocardiography – with reference to: incomplete left budle-branch block.
Cardiovasc J Afr 2009; 20(1):28-9.