Morio Kasai
(1922-2008)
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1922 ที่เมือง
Aomori ประเทศญี่ปุ่น
เข้าเรียนแพทย์ที่ Sendai หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติ Tohoku ในปี ค.ศ. 1947
เทรนต่อด้านศัลยกรรมและทำงานเป็นศัลยแพทย์ทั่วไปที่ภาควิชาที่สองของศัลยศาสตร์สถาบันนั้นเอง
ทศวรรษ 1950 โรคทางเดินน้ำดีตีบตัน (biliary atresia) เป็นโรคที่หายากแต่รุนแรงถึงชีวิตและยังไม่มีวิธีรักษา Kasai จึงคิดค้นเทคนิคผ่าตัดรักษาโดยการนำเอาลำไส้ไปต่อกับเนื้อเยื่อขั้วตับเพื่อให้ท่อน้ำดีขนาดเล็กบริเวณนั้นระบายน้ำดีลงสู่ลำไส้ได้เรียกว่า
hepatic portoenterostomy โดยประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาเด็กอายุ
72 วันเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955
ค.ศ. 1958 Kasai ไปทำ research fellowship เป็นเวลา 1 ปีกับ Charles Everett Koop (1916 – 2013) กุมารศัลยแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นหัวหน้าศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งฟิลาเดลเฟีย
ประสบการณ์ที่นี่ทำให้เขาอุทิศชีวิตที่เหลือให้กับกุมารศัลยศาสตร์ หลังกลับจากฟิลาเดลเฟียก็ได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
Tohoku
ค.ศ. 1959 ผลงานเรื่อง hepatic
portoenterostomy ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นในวารสาร Shujutsu
จึงไม่เป็นที่รู้จักในระดับสากลจนกระทั่งได้รับการแปลและตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษในทศวรรษ
1960 มีความพยายามทำ hepatic
portoenterostomy ในสหรัฐอเมริกาแต่ส่วนใหญ่ล้มเหลว ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันจึงต้องเดินทางมาฝึกกับผู้คิดค้นที่ญี่ปุ่นโดยตรง
อย่างไรก็ตามกว่าจะมีรายงานความสำเร็จในการผ่าตัดที่สหรัฐอเมริกาก็กลางทศวรรษ
1970 เลยทีเดียว Kasai เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเขาไม่คาดหวังว่าหัตถการนี้จะต้องตั้งตามชื่อของเขา ถึงกระนั้นก็ตามส่วนใหญ่ก็เรียกหัตถการนี้ว่า Kasai
procedure เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้คิดค้น
ค.ศ. 1963 เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาที่สองของศัลยศาสตร์
ทศวรรษ 1970 เขาคิดค้นหัตถการรักษาโรค Hirschsprung ที่เรียกว่า anorectal achalasia และยังไปช่วย Koop
ก่อตั้ง biliary atresia program ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งฟิลาเดลเฟียอีกด้วย
ค.ศ. 1976 เขาก่อตั้ง Japanese Society of
Biliary Atresia study Group ซึ่งจัดการประชุมกันทุกปี ปีนั้นเองเขายังก่อตั้ง International
Symposium of Biliary Atresia ซึ่งจัดการประชุมกันทุกห้าปีอีกด้วย
เขาเก่งในเรื่องสกีและการปีนเขามากจนได้เป็นหัวหน้าทีมปีนเขาของมหาวิทยาลัย
Tohoku ซึ่งเป็นทีมแรกในโลกที่พิชิต Nyainquntaglha ยอดเขาที่สูงที่สุดในที่ราบสูงธิเบต
หลังเกษียณในปี ค.ศ. 1986
เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ
จากนั้นไม่นานก็ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล NTT Tohoku จนกระทั่งเกษียณอีกครั้งในปี ค.ศ. 1993
ค.ศ. 1999
เขาป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (stroke) แต่ไม่อาจขัดขวางการทำงาน
เขายังคงทำงานด้านกุมารศัลยศาสตร์จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2008
เอกสารอ้างอิง
Garcia AV, Cowles RA, Kato T, Hardy
MA. Morio Kasai: A Remarkable Impact Beyond the Kasai Procedure. J Pediatr Surg
2012; 47(5): 1023-7.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น