John Charles Boileau Grant (1886-1973)
เกิดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 ที่ Loanhead ประเทศสกอตแลนด์
ค.ศ. 1903 เข้าเรียนแพทย์ที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นคือ William Boyd (1885-1979) ซึ่งต่อมาเป็นพยาธิแพทย์ผู้มีชื่อเสียง
สมัยนั้นตำรากายวิภาคศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมีสามเล่มคือ “Gray’s Anatomy” ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1858 โดย Henry Gray (1827-1861) ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เล่มที่สองคือ “Morris’s Human Anatomy” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1893 โดย Sir Henry Morris, 1st Baronet (1844–1926) ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ และอีกเล่มคือ “Cunningham’s Textbook of Anatomy” ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1902 โดย Daniel John Cunningham (1850–1909) แพทย์ชาวสกอต
Grant ได้เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์กับ Cunningham เมื่อจบแพทย์ในปี ค.ศ. 1908 จึงมาเป็นผู้สาธิต (demonstrator) ด้านกายวิภาคศาสตร์ภายใต้ Cunningham ระหว่างปี ค.ศ. 1909-1911 ก่อนจะไปรับตำแหน่งเดียวกันที่ประเทศอังกฤษภายใต้ Robert Howden (1856-1940) ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่ง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ. 1914 Grant อาสาสมัครเข้าร่วมในกองแพทย์ทหารบกหลวง เมื่อสิ้นสุดการระดมพลในปี ค.ศ. 1919 เขาไปรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแมนิโทบา ใน
Grant ดำรงตำแหน่งที่แมนิโทบาถึงปี ค.ศ. 1930 จากนั้นไปรับตำแหน่งศาสตราจารย์และหัวหน้ากายวิภาคศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโต ประเทศแคนาดาต่อจาก James Playfair McMurrich (1859–1939) นักสัตววิทยาชาวแคนาดาผู้เป็นบรรณาธิการร่วมของตำรา “Morris’s Human Anatomy” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1907
จากประสบการณ์ที่ได้อยู่ท่ามกลางบรรณาธิการตำรากายวิภาคศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทำให้ Grant ใฝ่ฝันที่จะประพันธ์ตำราของตัวเองจนผลิตออกมาถึงสามเล่ม (Grant trilogy) ด้วยกันคือ
ค.ศ. 1937 เขาตีพิมพ์ตำรา “Method of Anatomy, Descriptive and Deductive” เป็นครั้งแรก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “Grant’s Method of Anatomy” โดยฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1989
ค.ศ. 1940 เขาร่วมกับ Cates ตีพิมพ์ตำรา “Handbook for Dissectors” เป็นครั้งแรก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “Grant’s Dissector” โดยล่าสุดฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2008
ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเขาสมัครเข้าร่วมสงคราม (อีกแล้ว) แต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากอายุอานามปาเข้าไปมากกว่า 50 ปีแล้ว เขาจึงหันมาทำตำราเล่มที่สามซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ “Atlas of Anatomy” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1943 ปัจจุบันใช้ชื่อว่า “Grant’s Atlas of Anatomy” โดยล่าสุดฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2008 พร้อม ‘Grant’s Dissector” (ในปีเดียวกันนี้เอง “Gray’s Anatomy” ก็ฉลองครบรอบ 150 ปีด้วยการตีพิมพ์ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 40)
ภาพในตำราดังกล่าววาดจาก specimen ที่ทำขึ้นโดย Grant และลูกศิษย์ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ J. C. B. Grant ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโต เขามองว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ควรเป็นเพียงสถานที่จัดแสดง specimen แต่ควรเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ด้วย specimen จึงจัดวางให้สามารถหมุนดูได้รอบทิศทางและมีเก้าอี้กับโต๊ะให้นั่งอ่านตำราพร้อมจดบันทึกได้ ดังที่ Grant กล่าวไว้ว่า “Thus, the student, seated and with text-book or notes beside him, could study in comfort”
Grant เสนอให้ผู้สาธิตด้านกายวิภาคศาสตร์สวมเสื้อห้องปฏิบัติการสีขาวที่มีปกสีน้ำเงินเพื่อให้มองเห็นได้ง่ายจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เขาดำรงตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโตจนเกษียณในตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณเมื่อปี ค.ศ. 1956 หลังเกษียณก็รับตำแหน่งผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ค.ศ. 1961 แม้จะอายุ 75 ปีแล้วเขาก็ยังตอบรับคำเชิญไปเป็น Visiting professor ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิส (UCLA) โดยสอนกายวิภาคศาสตร์ 6 เดือนต่อปีจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1970
Grant เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1973 ที่โทรอนโต ส่วนภรรยาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1982 และยกมรดกตำรากายวิภาคศาสตร์ของ Grant ให้กับโรงพยาบาล Princess Margaret ที่โทรอนโต
ค.ศ. 1998 สำนักพิมพ์ Williams and Wilkins ที่ตีพิมพ์ตำรา “Grant’s Atlas of Anatomy” บริจาคเพลตต้นฉบับภาพวาดที่ใช้ในการตีพิมพ์แก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโต ปัจจุบันเพลตถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุของหน่วย Biomedical Communications
Grant ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาจารย์สอนกายวิภาคศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดในศตวรรษที่ 20 (most outstanding teachers of anatomy in the 20th century)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น