Thomas
Duckett Jones (1899-1954)
เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899 ที่ Petersburg, Petersburg City รัฐเวอร์จิเนีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นบุตรคนที่สองในบรรดาแปดคนของนายแพทย์ John Bolling Jones (1871–1950) กับ Jane Barksdale Duckett (1871–1950)
เขาจบจากสถาบันทหารเวอร์จิเนียในปี
ค.ศ. 1919 และจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนียในปี ค.ศ. 1923 โดยเป็น intern รวมถึง resident ที่นี่
ค.ศ. 1925
เป็น Dalton Fellow และ resident ด้านโรคหัวใจที่โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์ภายใต้ Paul Dudley
White (1886–1973) หทัยแพทย์ชาวอเมริกัน
จากนั้นก็ใช้เวลาหนึ่งปีเป็น National Research Council Fellow กับหทัยแพทย์ชาวอังกฤษ Sir Thomas Lewis (1881–1945) อดีตอาจารย์ที่ปรึกษาของ White ที่โรงพยาบาล University
College กรุงลอนดอน จากนั้นก็กลับมาเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาล House of Good Samaritan ในบอสตันเป็นเวลานานถึง 20 ปี พร้อมกันนั้นยังเป็นสตาฟที่โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์ด้วยซึ่งเขาเปิดคลินิกไข้รูห์มาติกตามคำแนะนำของ
White
คำว่า “ไข้รูห์มาติก (rheumatic
fever)” เริ่มปรากฎตั้งแต่ปี ค.ศ. 1806 (แต่ตอนนั้นยังนิยมใช้คำว่า acute
rheumatism มากกว่า)
ค.ศ. 1873 Trousseau แพทย์ชาวฝรั่งเศสสังเกตว่า
“ไข้ผื่นแดง (scarlatina)” กับไข้รูห์มาติกมีสาเหตุเดียวกัน ต่อมา ค.ศ. 1880 J. K. Fowler แพทย์ชาวอังกฤษสังเกตว่าคนไข้ acute rheumatism มีอาการทอนซิลอักเสบหรือคออักเสบนำมาก่อนถึงอย่างน้อย
80% แต่ไม่ได้ทำการเพาะเชื้อ
ค.ศ. 1885 Mantle
ที่กรุงลอนดอนเพาะเชื้อแบคทีเรียได้ในผู้ป่วยไข้รูห์มาติก ค.ศ. 1901 Frederick John
Poynton (1869-1943) กุมารแพทย์ชาวอังกฤษกับ Alexander Paine
นักแบคทีเรียวิทยารายงานว่าเพาะเชื้อจากเลือดผู้ป่วยไข้รูห์มาติก 3
รายได้เชื้อแบคทีเรีย streptococcus เมื่อนำไปฉีดให้กระต่ายทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจกับลิ้นหัวใจและบางตัวยังเกิดข้ออักเสบอีกด้วย นอกจากนี้พวกเขายังพบเชื้อใน subcutaneous
nodule ของผู้ป่วยไข้รูห์มาติกอีก 2 รายซึ่งเมื่อนำเชื้อไปฉีดให้กระต่ายก็เกิดลักษณะของโรคไข้รูห์มาติกอีก
ค.ศ. 1902 Fritz
Meyer (1875-1953) แพทย์ชาวเยอรมันพบว่าเชื้อ streptococcus จากทอนซิลเหมือนกับที่เจอในไข้ผื่นแดงและเมื่อฉีดให้กระต่ายทำให้เกิดไข้รูห์มาติก ขณะที่ฉีดด้วยเชื้อแบคทีเรีย staphylococcus,
pneumococcus และเชื้อคอตีบไม่ทำให้เกิดไข้รูห์มาติก
ค.ศ. 1903 Hugo
Schottmueller (1867-1936) แพทย์ชาวเยอรมันพบว่าสามารถจำแนกเชื้อ streptococcus
ด้วยการเพาะเลี้ยงใน blood agar โดยพบว่าเชื้อที่ได้จากไข้ผื่นแดงและไฟลามทุ่ง
(erysipelas) เป็นแบบ hemolytic ขณะที่เชื้ออีกตัวที่รุนแรงน้อยกว่าเป็นแบบ non-hemolytic
และตั้งชื่อว่า Streptococcus viridians โดยเชื้อ hemolytic streptococcus สัมพันธ์กับไข้รูห์มาติกมากกว่าเชื้อ
Streptococcus viridians
ค.ศ. 1928 Rebecca
Craighill Lancefield (1895-1981) นักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันที่ห้องปฏิบัติการของ Swift ในสถาบัน Rockefeller คิดค้นระบบจำแนกเชื้อแบคทีเรีย
streptococcus ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ คือ group A – G, L
และ R&S ระบบนี้มีชื่อว่า Lancefield's classification โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้รูห์มาติกคือ
group A hemolytic streptococcus
ค.ศ. 1931
การศึกษาแบบ cohort ในเด็กที่เป็นไข้รูห์มาติก
100 คนของแพทย์ชาวอเมริกัน Alvin F. Coburn (1899-1975) ช่วยเน้นย้ำถึงบทบาทของเชื้อแบคทีเรีย
hemolytic streptococcus กับการเกิดไข้รูห์มาติก
ค.ศ. 1932 E.
W. Todd ที่นิวยอร์กค้นพบแอนติบอดีต่อเอนไซม์ของ streptococcus
ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตก 2 ชนิดจึงตั้งชื่อว่า antistreptolysin
O กับ S
ค.ศ. 1934 Walter
K. Myers (1903-1964) หทัยแพทย์ชาวอเมริกันและคณะพบว่า antistreptolysin
O (ASO) titer สูงขึ้นในผู้ป่วยไข้รูห์มาติก ต่อมา ค.ศ. 1938 Todd พบว่า
antistreptolysin O (ASO) สัมพันธ์กับการติดเชื้อ hemolytic
streptococcus
ค.ศ. 1935
Gerhard Johannes Paul Domagk (1895–1964) แพทย์ชาวเยอรมันตีพิมพ์บทความ
“A Contribution to the Chemotherapy of Bacterial Infection” รายงานการทดลองฉีดเชื้อ streptococcusให้แก่หนูทดลองและแบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม กลุ่มแรกไม่ให้อะไรแต่กลุ่มหลังให้ Sulfamidochrysoidine (เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะแตกตัวเป็นสาร Sulfanilamide ซึ่งเป็นตัวหลักในการออกฤทธิ์) ปรากฏว่า 4 วันต่อมาหนูกลุ่มแรกเสียชีวิตทั้งหมด ขณะที่กลุ่มหลังสบายดี (Domagk G. Ein
Beitrag zur Chemotherapie der bakteriellen Infektionen. Deutsch
Med Wschr 1935;61:250-3.)
Coburn และ Lucile
V. Moore ทำการศึกษาในกระต่ายพบว่าการให้ยา sulfanilamide ป้องกันการติดเชื้อ streptococcus ได้ ค.ศ. 1938
พวกเขาจึงเริ่มให้ยานี้กับเด็กที่เคยเป็นไข้รูห์มาติก
(หลายคนเป็นโรคหัวใจรูห์มาติก) พบว่า 79 ใน 80 รายไม่เป็นไข้รูห์มาติกอีกเลย แสดงให้เห็นว่ายา sulfanilamide ป้องกันการเกิดไข้รูห์มาติกได้ (Coburn AF, Moore LV. The
prophylactic use of sulfanilamide in streptococcal respiratory infections, with
especial reference to rheumatic fever. J Clin Invest 1939;18:147-55.)
Jones ศึกษาโรคนี้จนสามารถเสนอเกณฑ์การวินิจฉัยไข้รูห์มาติกได้เป็นครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1944 รู้จักกันในชื่อ “Jones criteria” ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง (Jones TD. The
diagnosis of rheumatic fever. J Am Med Assoc 1944; 126 (8); 481-4.)
ค.ศ. 1947 Joan Whitney
Payson (1903-1975) นักธุรกิจชาวอเมริกันก่อตั้ง Halen Hay
Whitney Foundation ในมหานครนิวยอร์กด้วยทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพื่อสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานของไข้รูห์มาติกและโรคหัวใจรูห์มาติก จากชื่อเสียงในด้านนี้ทำให้ Jones ได้รับการร้องขอให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของกองทุน ต่อมายังได้รับตำแหน่งสำคัญในหลายองค์กรอีกด้วย
ค.ศ. 1948 Jones ร่วมกับ Benedict Frank Massell (1906-2008) หทัยแพทย์ชาวอเมริกันและ
James W. Dow รายงานการใช้ยาเพนิซิลลินชนิดกินในผู้ป่วยไข้รูห์มาติกเป็นครั้งแรก
(Massell BF, Dow JW, Jones TD. Orally administered peniclillin in
patients with rheumatic fever. J Am Med Assoc 1948; 138(14): 1030.)
ค.ศ. 1950 Floyd
W. Denny, Jr. (1923–2001) กุมารแพทย์ชาวอเมริกันและคณะรายงานผลการศึกษาสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นครั้งแรกว่าการรักษาการติดเชื้อ
streptococcus ป้องกันโรคไข้รูห์มาติกได้ (Denny LW,
Brink WR, Rammelkamp CH, Cluster EA. Prevention of rheumatic fever: treatment
of the preceding streptococcal infection. JAMA 1950;143:151-3.)
Jones เสียชีวิตด้วยด้วยโรค
diffuse
vasculitis และ malignant
hypertension ที่โรงพยาบาลจอห์นฮอปกินเมื่อวันที่ 22
พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 สองวันต่อมาศพของเขาได้รับการฝังที่สุสาน
Blandford ในบ้านเกิดเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในตระกูล โดยป้ายหน้าหลุมศพจารึกไว้ว่า “THAT YOU
MAY HAVE LIFE MORE ABUNDANTLY” จากการอุทิศชีวิตให้กับโรคไข้รูห์มาติกจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งไข้รูห์มาติก
(Father of rheumatic fever)
เกณฑ์การวินิจฉัยไข้รูห์มาติกเฉียบพลันได้รับการปรับปรุงครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1965 เรียกว่า modified Jones criteria และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในปี
ค.ศ. 1992 เป็น Jones criteria, 1992 update
เอกสารอ้างอิง
Benedek
TG. The History of Bacteriologic Concepts of Rheumatic Fever and Rheumatoid
Arthritis. Semin Arthrits Rheum 2006; 36:109-23.
Bland
EF. Dr. Thomas Duckett Jones. Trans Am Clin Climatol Assoc 1956; 67:43-4.
Paul
O, Bland EF, Massell BF. T. Duckett Jones and His Association with Paul Dudley
White. Clin Cardiol 1990; 13:367-9.
*อ่านชีวประวัติของ Benedict Frank Massell ได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น